วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย

        นับจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นมา ได้มีการแต่งวรรณกรรมไทยต่อเนื่องกันมาไม่ขาดสาย วรรณกรรมที่แต่งกันมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ล้วนเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาแบบไทย กล่าวคือ มีกระบวนการคิด กระบวนการแต่งเรื่องเป็นแบบไทยโดยที่ยังไม่ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก

        วรรณกรรมไทยนับแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาจะปรากฏอิทธิพลของชาติตะวันตกอยู่ด้วย

       ดังได้กล่าวมาแล้วว่า เราใช้คำ “วรรณคดี” ในความหมายว่า หนังสือเก่าที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณศิลป์ มีคุณค่า ใช้เป็นแบบอย่างหรือแบบแผนได้ เช่นบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดแห่งบทละครรำ พระอภัยมณีของสุนทรภู่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของนิทานคำกลอน เป็นต้น

       หนังสือเหล่านี้คนไทยได้อ่าน ได้เล่าและได้ศึกษาสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุจนเป็นเสมือนทรัพย์มรดกสำคัญของคนทั้งชาติ บางคนจึงเรียกวรรณคดีเหล่านี้ว่าเป็น “วรรณคดีมรดก”

       วรรณคดีไทยเป็นหนังสือคู่บ้านคู่เมืองที่คนไทยทุกคนควรรู้จัก และควรอ่าน เพื่อให้เข้าใจรากเหง้าวัฒนธรรมของเรา เนื่องจากวรรณคดีไทยสะท้อนให้เห็นลักษณะความไทยแบบเดิมที่สืบเนื่องกันมานานนับศตวรรษ การรู้จักรากที่มาของวัฒนธรรมไทยจะทำให้เราได้ไตร่ตรองตรวจสอบข้อดี ข้อเสียของวัฒนธรรมเดิม เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขอันจะทำให้เราสามารถสืบทอดความเป็นไทยต่อไปได้อย่างเหมาะสมและอย่างภาคภูมิใจ

วรรณคดีและวรรณกรรม‎

       คำว่า “วรรณคดี” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 แค่เริ่มใช้เป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นในสมัยใดก็ได้ที่แต่งเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้ ยกเว้นตำราแบบเรียน ความเรียง เรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดี วรรณคดีเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ และใช้ภาษาได้ดี

        ส่วนคำว่า “วรรณกรรม” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 7 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ.2475 หมายถึง สิ่งที่เขียนขึ้นจะใช้รูปแบบใดก็ได้หรือเพื่อความมุ้งหมายอย่างใดก็ได้ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ ตำรา ข่าว ประกาศแจ้งความ และฉลากยา เป็นต้น จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าความหมายของ “วรรณกรรม” หรือ “วรรณคดี”

        ต่อมาเกิดมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่างานเขียนซึ่งแต่งขึ้นใหม่ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น จะนับเป็นวรรณคดีหรือไม่ จึงมีการแยกคำ “วรรณคดี” ออกจาก “วรรณกรรม” วรรณคดี จึงใช้ในความหมายว่า วรรณกรรมหรือหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณกรรมศิลป์ กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในการใช้ถ้อยคำภาษาและเด่นในการประพันธ์ ให้คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน สามารถใช้เป็นแบบฉบับอ้างอิงได้


        หนังสือที่ยอมรับว่าเป็นวรรณคดี ได้แก่ หนังสือรุ่นเก่าซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าแม้เวลาจะล่วงเลยไปเป็นร้อยๆ ปี ก็ยังมีคุณค่า สามารถชี้ลักษณะเด่นได้ เช่น บทเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน และ ลิลิตพระลอ เป็นต้น ข้อสำคัญเป็นหนังสือที่เหมาะแก่คนอ่านทุกวัย ยิ่งคนอ่านมีประสบการณ์มากก็ยิ่งได้รับอรรถรสเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้เขียนแต่งขึ้นอย่างประณีตและกลั่นกรองเรื่องราวมาจากความเจนจัดของชีวิต

        ส่วนวรรณกรรม ใช้ในความหมายว่า ข้อเขียนทั่วไป

หลักการพูด

  การพูด มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ประกอบกิจการงานใด หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ จึงมักพบว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระ การงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่น ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม ล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้น ส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอน และฝึกได้ อาจกล่าวได้ว่า การพูดเป็น " ศาสตร ์" มีหลักการ และกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ถึงขั้นเป็นที่พอใจอีกส่วนหนึ่งเป็นความสารถพิเศษหรือศิลปะเฉพาะตัวของผู้พูดแต่ละบุคคล บางคนมีความสามารถที่จะตรึงผู้ฟังให้นิ่งอยู่กับที่จิตใจจดจ่ออยู่กับการฟังเรื่องที่พูด ผู้พูดบางคนสามารถพูดให้คนฟังหัวเราะได้ตลอดเวลา ศิลปะเฉพาะตัวนี้ เป็นสิ่งที่ลอกเลียนกันได้ยาก แต่อาจพัฒนาขึ้นได้ในแต่ละบุคคล ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตวิธีการที่ดีและมีโอกาสฝึกฝน

        ประเภทของการพูด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

   
 ๑. การพูดระหว่างบุคคล ได้แก่
        ๑.๑ การทักทายปราศัย ลักษณะการทักทายปราศัยที่ดีดังนี้ 
                - หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย 
                - กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม เช่น สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ 
                - แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร 
                - ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ 
        ๑.๒ การแนะนำตนเอง การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ ต้องบอกชื่อ นามสกุล บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว 
       
 
๑.๓ การสนทนา หมายถึง การพูดคุยกัน พูดจาเพื่อนสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ การรับสารที่ง่ายที่สุด คือ การสนทนา 
                - คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี คือ 
                - หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส 
                - ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย ๆ สุภาพ คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา
    ๒. การพูดในกลุ่ม
การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม แสดงความคิดเห็น หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน มีวิธีการดังต่อไปนี้
                - เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ ว่ามีอะไรบ้าง 
                - ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย 
                - น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ 
                - ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม 
                - ผู้เล่าเรื่องควรจำเรื่องได้เป็นอย่างดี 

มารยาทในการพูด


                    ๑.พูดจาไพเราะ
                    ๒.ไม่แย่งกันพูด                    
                    ๓.พูดด้วยคำสุภาพไม่ยาบคาย                  
                    ๔.พูดด้วยน้ำเสียงที่นุมนวน                  
                    ๕.ไม่พูดแทรกจังหวะผู้อื่น                
                    ๖.พูดด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส              
                    ๗.ใช้ความดังของเสียงให้พอเหมาะ ไม่เสียงเบาหรือดังเกินไป               
                    ๘.ไม่พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น
                    ๙.เปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น

จะเป็นผู้ดูที่ดีได้อย่างไร

  เราคือผู้ดู ไม่ใช่ผู้กำกับ จะไปเจ้ากี้เจ้า การให้เป็นอย่างโน้น เป็นอย่างนี้ จะไปเจ้ากี้เจ้าการให้ชัด ให้ใส ให้ สว่าง ให้อยู่กับเรานาน ๆ ให้ใหญ่ โต ให้เข้ากลางคล่อง ให้เร็ว ให้แรง ไม่ ได้ 
หน้าที่ของเราคือผู้ดู มีอะไรให้ดูก็ดูไป ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ ที่ศูนย์ กลางกาย โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น นี้คือสูตรสำเร็จ “เราคือผู้ดู” สอนตัว เองอยู่ตลอดเวลา จะได้ไม่ลืม “เราคือผู้ดู เราไม่ใช่ผู้กำกับ” เพราะ ฉะนั้น เราจะไม่เจ้ากี้เจ้าการ ให้เป็นอย่างโน้น เป็นอย่างนี้ ใจเย็น ๆ เห็นอะไรให้ดูไป สบาย ๆ อย่ากลัวเสียเวลา ไม่กลัวอะไรเลย ทำหยุด ทำ นิ่ง ทำเฉยๆ อย่างสบาย ๆ ที่ศูนย์กลางกาย แค่นี้ เท่านั้น

การดูที่ถูกวิธีเป็นอย่างไร

๑. อย่าไปเน้นให้ชัด “ดูเฉย ๆ ดูอย่างเดียว มีให้ดูแค่ไหนก็ดูแค่นั้น” มีให้ดูแค่ลัว ๆ ลาง ๆ ไม่ชัดเจน ก็ดูแค่นั้น อย่า รำคาญว่า แหมทำไมไม่ชัดเจน เราอยากจะดูให้มันชัด ๆ “มีแค่ไหน เราก็ดูแค่ นั้น ดูเฉย ๆ เดี๋ยวจะชัดขึ้นเอง 
    
        ๒. ดูไปเรื่อย ๆ ไม่เผลอ มีอะไรเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกาย เราก็ดูเรื่อยไป มี ความมืดให้ดู เราก็ดูความมืด มีวัตถุก้อนทึบ ๆ ให้ดู จะทรงกลมหรือทรงอะไรก็ แล้วแต่ เราก็ดูเรื่อยไป มีแสงสว่าง เกิดขึ้นมา ก็ดูไปเรื่อย ๆ ใจจะโล่ง จะ เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง เราก็มองตรงกลางเรื่อยไป มองเฉย ๆ มีหลุมลึก เป็นบ่อบ้าง เป็นหุบเหวบ้าง มีอาการคล้ายๆ จะหล่นลงไป ก็อย่าไปฝืน ปล่อยให้ มันเป็นไปตามธรรมชาติ มันจะวูบก็ช่างมัน มันไม่ลงก็ช่างมัน ลงไปช้า ๆ ก็ช่าง มัน ไม่ลุ้น ไม่ดัน เฉย ๆ อย่างเดียว ลงไปแค่ไหน ก็ช่างมัน ลงแล้วถอนขึ้นมา ก็ช่างมัน มีดาวให้ดูเราก็ดูดาวไป ดวงใสแค่ไหน เราก็ดูไปเรื่อย ๆ ดูตรง กลาง ภาพอะไรเกิดขึ้นมา ดูไปเรื่อย ๆ ภาพนั้นจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เปลี่ยนไปสู่ความไม่เปลี่ยน 
        
        ๓. ดูอย่างสบายทุกภาพ ดูมืด ดูจุดสว่าง ช่างมันอย่างเดียว ง่ายๆ ดูไป เรื่อย ๆ ดูธรรมดา สบาย ๆ เป็นหัวใจ ให้ได้ตั้งแต่เบื้องต้น เบื้องปลาย ดู ธรรมดา เฉยๆ มีอะไรให้ดูก็ดูไป บางครั้งภาพองค์พระเปลี่ยนไปเป็นดวงแก้ว ก็ ยิ่งดีใหญ่ เราก็ดูไปเรื่อยๆ อย่างสบาย ๆ จะเห็นอะไรก็ตามเกิดขึ้นที่ศูนย์ กลางกาย มองไปเรื่อย ๆ มองไปเฉย ๆ ด้วยใจที่เบิกบาน สบายๆ 

        ๔. ดูเข้าไปตรงกลาง อย่าชำเลืองดูข้างนอก การดูให้ดูตรงกลางต่อไป อย่า ชำเลืองดูข้างนอก ยกเว้นเห็นเอง สมมติว่า ขณะนั่ง เราเกิดเห็นไปเองว่า ห้อง นี้เหมือนกับเป็นองค์พระ ตัวของเรานั่งอยู่ข้างใน อย่างนี้ไม่เป็นไร แต่ ถ้าเราเข้าไปอยู่ข้างในแล้วมีความรู้สึกอยากจะดู จึงชำเลือง ๆ อย่าง นี้ ไม่ได้นะ เพราะถ้าเราชำเลืองดูจิตจะไม่รวม เข้าข้างใน 
        ๕. ไม่ตื่นเต้นหรือยินดียินร้าย ถ้าเราประคองใจให้หยุดนิ่ง อย่างนี้ไป เรื่อย ๆ ไม่ช้าความสว่างก็จะเกิดขึ้นเอง หรือ ดวงนิมิตก็จะเกิดขึ้น เอง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว วิธีประคอง คือ ทำใจเฉย อย่าไปตื่นเต้น อย่าใจดี จนเกินไป 
ถ้าเราอดไม่ได้ จึงตื่นเต้นดีใจ หรือตกใจ นิมิตนั้นจะหายไป เราก็รักษาหยุดกับนิ่งไว้นานๆ ต่อไปใหม่ หยุด นิ่ง เฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ตื่นเต้นอะไร ทั้งสิ้น มีอะไรให้ดูตรงกลาง เราก็ดูไปเรื่อย ๆ เช่น มีความมืดให้ดู เราก็ดู ความมืดไป อย่าไปกลุ้มใจ อย่าไปวิตกกังวล ดูไปเดี๋ยวมันจะสว่างไปเอง จาก มืด ๆ นั่นแหละ สว่างไปเอง ถ้าเราไม่กังวล เมื่อมีแสงสว่างให้ดู เราก็ดูแสง สว่างเรื่อยไป ต่อไปแสงสว่างมันก็จะเปลี่ยนไป เป็นจุดสว่างบ้าง เป็นดวง ใส ๆ บ้าง เป็นดวงใหญ่บ้าง ดวงเล็กบ้าง เราก็ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ เดี๋ยว เห็น เดี๋ยวหาย ก็ช่างมัน หายไป เหลือแต่ความมืด เราก็ดูความมืด กลับ มา เป็นดวงใส เราก็ดูดวงใส ถ้าเป็นดวงให้ดู ก็ดูไปที่จุดกึ่งกลางของดวง ถ้า เป็นจุดสว่าง ก็ให้ดูไปที่กึ่งกลางของจุดสว่างนั้น ถ้าหาจุดกึ่งกลางของจุด สว่างไม่ได้ ก็ให้ดูไปที่จุดสว่างอย่างเดียว ดูเฉย ๆ ดูอย่างสบาย ๆ 
        
        ๖. ไม่เอ๊ะอ๊ะ ไม่ผิดหวัง มีอะไรให้ดู ก็ดูไป เหมือนเราเดินเล่น ผ่านอะไร ระหว่างทาง มีอะไรให้ดูก็ดูไป เฉย ๆ ไม่ต้องคิดอะไร เห็นอะไรก็ไม่ต้อง คิด เอ๊ะ อ๊ะแต่ถ้าสงสัย พอหยุดดูจะไม่นิ่ง ถ้าเราทำใจว่า ทันทีที่หลับ ตา จะเห็นความมืดเป็นภาพแรก คำว่าผิดหวังก็จะไม่เกิด เพราะเราไม่ได้หวังผิด 
อย่าไปเสียดายดวงแก้ว อย่าไปมัวไล่จับ เพราะกลัวจะไม่อยู่ เราดูเฉย ๆ หายไป ก็ช่าง ดวงแก้วมีเป็นล้าน ๆ ดวงในตัวของเรา หายไปแค่ดวงเดียว เหลืออีกตั้ง เยอะ ดูไปสบาย ๆ หายไปก็ช่าง นิ่งอย่างเดียว เฉย ๆ อย่างเดียว ทำอย่างนี้จะ ได้ดี ไม่ปฏิเสธภาพ ไม่ปรุงแต่ง เมื่อค่อย ๆ ดูไป ใจก็เริ่มคุ้นกับภาพภายใน ซึ่ง ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง ก็ให้ดูไปเรื่อย ๆ จากชัดน้อยจนชัดมาก ดูไปจนชัดมาก ๆ ถ้า เป็นแสงสว่าง ก็จากแสงน้อยไปจนแสงมาก เมื่อเราเฉย ๆ ไม่ปฏิเสธภาพที่เกิด ขึ้น และไม่ปรุงแต่ง ใจก็จะเริ่มหยุด นิ่ง เฉย 
       
         ๗. มองเรื่อย ๆ เดี๋ยวเข้าไปตรงกลางเอง มองที่จุดกึ่งกลางของสิ่งที่เห็น ถ้า เห็นองค์พระเห็นแต่เศียรพระ เราก็มองเศียรไป มองไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็จะเข้าไป อยู่ในกลางขององค์พระได้เอง อย่างสบาย ๆ ถ้าตึงหรือเครียด ต้องผ่อนคลาย ถ้า ฟุ้ง หรือเคลิ้ม พอรู้ตัว เราก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ ภาวนาใหม่ ทิ้งอารมณ์ นั้นไป เริ่มใหม่อย่างง่าย ๆ นิมิตเกิดขึ้นมาแล้วหายไป ก็อย่าเสียดาย ทำ นิ่งเฉย ๆ จะเห็นแสงสว่าง จะเป็นดวงแก้ว จะเป็นองค์พระ จะเป็นกายอะไรก็แล้ว แต่ เห็นมาประเดี๋ยวเดียวหายไป ก็อย่าเสียดาย อย่ามัวควานหา อย่าตามหา ให้ นิ่งเฉย “ หายได้ หายไป เรานิ่งเฉยอยู่ที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว “ ทำใจให้ นิ่งแน่น ให้หนักแน่นอยู่ในกลาง ไม่ช้าใจจะค่อย ๆ ละเอียดไปเรื่อย ๆ จน กระทั่งหยุดนิ่งเข้าถึงธรรมกาย

มารยาทการฟังและดูให้มีประสิทธิภาพ

       มารยาทในการฟังและการดูถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรยึดถือปฏิบัติ เพราะหากขาดมารยาทที่ดีจะทำให้ขาดผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการรับสาร นอกจากนี้ยังเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ส่งสารและทำให้เสียเวลาในการฟังและการ ดูไปอย่างเปล่าประโยชน์
        ๑. การฟังหรือดูเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรสำรวมกิริยาอาการ สบตาผู้พูดเป็นระยะ ๆ ให้พอเหมาะ ไม่ชิงพูดก่อนที่จะพูดจบความ เมื่อไม่เข้าใจให้ถามเมื่อผู้ใหญ่พูดจบกระแสความ

        ๒. การฟังหรือดูในห้องประชุม ตั้งใจฟัง จดบันทึกสาระสำคัญ ไม่กระซิบพูดกัน ไม่ทำกิจส่วนตัว ถ้าจะพูดให้ยกมือขออนุญาตจากประธานในที่ประชุมก่อน

        ๓. การฟังหรือดูการพูดในที่ประชุม การฟังหรือดูการพูดอภิปราย บรรยาย ปราฐกถา ต้องฟังด้วยความสำรวม แสดงความสนใจ ถ้าจะซักถามหรือแสดงความคิดเห็น ควรรอให้การพูดนั้นสิ้นสุดลงก่อน

        ๔. การฟังหรือดูในที่สาธารณะ ต้องรักษาความสงบและเพื่อไม่ให้รบกวนสมาธิของผู้พูด ไม่ควรเดินเข้าออกพลุกพล่าน ไม่พูดคุยเสียงดัง ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงความไม่รู้กาลเทศะและไม่ให้เกียรติผู้พูด
การรับสารโดยใช้ทักษะการฟัง การดูเพื่อให้สัมฤทธิผลนั้น ผู้รับสารต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ในการฟัง การดู เพื่อให้การรับสารมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการพิจารณาสาร แยกแยะข้อเท็จจริงและสรุปใจความสำคัญ วิเคราะห์ ใคร่ครวญ วินิจสารและประเมินค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝนเป็นประจำ จึงจะช่วยให้ผู้รับสารสามารถนำสารที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ประจำวันได้อย่างสัมฤทธิผล

หลักการฟัง

การฟัง คือ การรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน เป็นการรับรู้สารทางหู ในชีวิตประจำวันของเรา เราใช้เวลานการฟัง ทั้งที่ฟังจากบุคคลโดยตรง และฟังจากจากสื่ออิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ เพราะข่าวสาร ความรู้และศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ที่มนุษย์ถ่ายทอดกันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ยังใช้วิธีการพูดอธิบายให้ฟังแม้จะมีหนังสือบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม

        หลักการฟังที่ดี การฟังที่ดีมีหลักสำคัญ คือ


    ๑. ฟังให้ตรงตามความมุ่งหมาย โดยทั่วไปแล้หลักการฟังมีความมุ่งหมายหลัก 3 ประการ
        ๑.๑ ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ การฟังเรื่องราวที่สนุกสนาน
        ๑.๒ ฟังเพื่อความรู้ ได้แก่ การฟังเรื่องราวทางวิชาการ ข่าวสารและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
        ๑.๓ ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ ได้แก่ การฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญา ความสุขุมและวิจารณญาณ เพื่อเชิดชูจิตใจให้สูงขึ้น ประณีตขึ้น
    ๒. ฟังโดยมีความพร้อม ความพร้อมในที่นี้ หมายถึง ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ และ ความพร้อมทางสติปัญญา
ความพร้อมทางร่างกาย หมายถึง การมีสุขภาพทางร่างกายเป็นปกติ ไม่เหนื่อย ไม่อิดโรย 
ความพร้อมทางจิตใจ หมายถึง การมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ
    ๓.ฟังโดยมีสมาธิ หมายถึง ฟังด้วยความตั้งใจมั่น จดจ่ออยู้กับเรื่องที่ฟัง ไม่ปล่อยจิตใจให้เลื่อนลอยไปที่อื่น
    ๔. ฟังด้วยความกระตือรือร้น ผู้ที่ฟังด้วยความกระตือรือร้นมักจะเป็นผู้ฟังที่มองเห็นประโยชน์หรือเห็นคุณค่าจึงสนใจเรื่องที่ตนจะฟัง 
    ๕. ฟังโดยไม่อคติ ผู้ฟังโดยไม่อคติต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน ไม่เป็นโทษแก่ผู้อื่น