วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วรรณคดีและวรรณกรรม‎

       คำว่า “วรรณคดี” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 แค่เริ่มใช้เป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นในสมัยใดก็ได้ที่แต่งเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้ ยกเว้นตำราแบบเรียน ความเรียง เรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดี วรรณคดีเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ และใช้ภาษาได้ดี

        ส่วนคำว่า “วรรณกรรม” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 7 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ.2475 หมายถึง สิ่งที่เขียนขึ้นจะใช้รูปแบบใดก็ได้หรือเพื่อความมุ้งหมายอย่างใดก็ได้ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ ตำรา ข่าว ประกาศแจ้งความ และฉลากยา เป็นต้น จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าความหมายของ “วรรณกรรม” หรือ “วรรณคดี”

        ต่อมาเกิดมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่างานเขียนซึ่งแต่งขึ้นใหม่ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น จะนับเป็นวรรณคดีหรือไม่ จึงมีการแยกคำ “วรรณคดี” ออกจาก “วรรณกรรม” วรรณคดี จึงใช้ในความหมายว่า วรรณกรรมหรือหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณกรรมศิลป์ กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในการใช้ถ้อยคำภาษาและเด่นในการประพันธ์ ให้คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน สามารถใช้เป็นแบบฉบับอ้างอิงได้


        หนังสือที่ยอมรับว่าเป็นวรรณคดี ได้แก่ หนังสือรุ่นเก่าซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าแม้เวลาจะล่วงเลยไปเป็นร้อยๆ ปี ก็ยังมีคุณค่า สามารถชี้ลักษณะเด่นได้ เช่น บทเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน และ ลิลิตพระลอ เป็นต้น ข้อสำคัญเป็นหนังสือที่เหมาะแก่คนอ่านทุกวัย ยิ่งคนอ่านมีประสบการณ์มากก็ยิ่งได้รับอรรถรสเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้เขียนแต่งขึ้นอย่างประณีตและกลั่นกรองเรื่องราวมาจากความเจนจัดของชีวิต

        ส่วนวรรณกรรม ใช้ในความหมายว่า ข้อเขียนทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น