นับจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นมา ได้มีการแต่งวรรณกรรมไทยต่อเนื่องกันมาไม่ขาดสาย วรรณกรรมที่แต่งกันมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ล้วนเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาแบบไทย กล่าวคือ มีกระบวนการคิด กระบวนการแต่งเรื่องเป็นแบบไทยโดยที่ยังไม่ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก
วรรณกรรมไทยนับแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาจะปรากฏอิทธิพลของชาติตะวันตกอยู่ด้วย
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า เราใช้คำ “วรรณคดี” ในความหมายว่า หนังสือเก่าที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณศิลป์ มีคุณค่า ใช้เป็นแบบอย่างหรือแบบแผนได้ เช่นบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดแห่งบทละครรำ พระอภัยมณีของสุนทรภู่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของนิทานคำกลอน เป็นต้น
หนังสือเหล่านี้คนไทยได้อ่าน ได้เล่าและได้ศึกษาสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุจนเป็นเสมือนทรัพย์มรดกสำคัญของคนทั้งชาติ บางคนจึงเรียกวรรณคดีเหล่านี้ว่าเป็น “วรรณคดีมรดก”
วรรณคดีไทยเป็นหนังสือคู่บ้านคู่เมืองที่คนไทยทุกคนควรรู้จัก และควรอ่าน เพื่อให้เข้าใจรากเหง้าวัฒนธรรมของเรา เนื่องจากวรรณคดีไทยสะท้อนให้เห็นลักษณะความไทยแบบเดิมที่สืบเนื่องกันมานานนับศตวรรษ การรู้จักรากที่มาของวัฒนธรรมไทยจะทำให้เราได้ไตร่ตรองตรวจสอบข้อดี ข้อเสียของวัฒนธรรมเดิม เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขอันจะทำให้เราสามารถสืบทอดความเป็นไทยต่อไปได้อย่างเหมาะสมและอย่างภาคภูมิใจ
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วรรณคดีและวรรณกรรม
คำว่า “วรรณคดี” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 แค่เริ่มใช้เป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นในสมัยใดก็ได้ที่แต่งเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้ ยกเว้นตำราแบบเรียน ความเรียง เรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดี วรรณคดีเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ และใช้ภาษาได้ดี
ส่วนคำว่า “วรรณกรรม” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 7 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ.2475 หมายถึง สิ่งที่เขียนขึ้นจะใช้รูปแบบใดก็ได้หรือเพื่อความมุ้งหมายอย่างใดก็ได้ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ ตำรา ข่าว ประกาศแจ้งความ และฉลากยา เป็นต้น จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าความหมายของ “วรรณกรรม” หรือ “วรรณคดี”
ต่อมาเกิดมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่างานเขียนซึ่งแต่งขึ้นใหม่ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น จะนับเป็นวรรณคดีหรือไม่ จึงมีการแยกคำ “วรรณคดี” ออกจาก “วรรณกรรม” วรรณคดี จึงใช้ในความหมายว่า วรรณกรรมหรือหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณกรรมศิลป์ กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในการใช้ถ้อยคำภาษาและเด่นในการประพันธ์ ให้คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน สามารถใช้เป็นแบบฉบับอ้างอิงได้
หนังสือที่ยอมรับว่าเป็นวรรณคดี ได้แก่ หนังสือรุ่นเก่าซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าแม้เวลาจะล่วงเลยไปเป็นร้อยๆ ปี ก็ยังมีคุณค่า สามารถชี้ลักษณะเด่นได้ เช่น บทเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน และ ลิลิตพระลอ เป็นต้น ข้อสำคัญเป็นหนังสือที่เหมาะแก่คนอ่านทุกวัย ยิ่งคนอ่านมีประสบการณ์มากก็ยิ่งได้รับอรรถรสเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้เขียนแต่งขึ้นอย่างประณีตและกลั่นกรองเรื่องราวมาจากความเจนจัดของชีวิต
ส่วนวรรณกรรม ใช้ในความหมายว่า ข้อเขียนทั่วไป
ส่วนคำว่า “วรรณกรรม” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 7 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ.2475 หมายถึง สิ่งที่เขียนขึ้นจะใช้รูปแบบใดก็ได้หรือเพื่อความมุ้งหมายอย่างใดก็ได้ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ ตำรา ข่าว ประกาศแจ้งความ และฉลากยา เป็นต้น จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าความหมายของ “วรรณกรรม” หรือ “วรรณคดี”
ต่อมาเกิดมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่างานเขียนซึ่งแต่งขึ้นใหม่ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น จะนับเป็นวรรณคดีหรือไม่ จึงมีการแยกคำ “วรรณคดี” ออกจาก “วรรณกรรม” วรรณคดี จึงใช้ในความหมายว่า วรรณกรรมหรือหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณกรรมศิลป์ กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในการใช้ถ้อยคำภาษาและเด่นในการประพันธ์ ให้คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน สามารถใช้เป็นแบบฉบับอ้างอิงได้
หนังสือที่ยอมรับว่าเป็นวรรณคดี ได้แก่ หนังสือรุ่นเก่าซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าแม้เวลาจะล่วงเลยไปเป็นร้อยๆ ปี ก็ยังมีคุณค่า สามารถชี้ลักษณะเด่นได้ เช่น บทเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน และ ลิลิตพระลอ เป็นต้น ข้อสำคัญเป็นหนังสือที่เหมาะแก่คนอ่านทุกวัย ยิ่งคนอ่านมีประสบการณ์มากก็ยิ่งได้รับอรรถรสเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้เขียนแต่งขึ้นอย่างประณีตและกลั่นกรองเรื่องราวมาจากความเจนจัดของชีวิต
ส่วนวรรณกรรม ใช้ในความหมายว่า ข้อเขียนทั่วไป
หลักการพูด
การพูด มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ประกอบกิจการงานใด หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ จึงมักพบว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระ การงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่น ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม ล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้น ส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอน และฝึกได้ อาจกล่าวได้ว่า การพูดเป็น " ศาสตร ์" มีหลักการ และกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ถึงขั้นเป็นที่พอใจอีกส่วนหนึ่งเป็นความสารถพิเศษหรือศิลปะเฉพาะตัวของผู้พูดแต่ละบุคคล บางคนมีความสามารถที่จะตรึงผู้ฟังให้นิ่งอยู่กับที่จิตใจจดจ่ออยู่กับการฟังเรื่องที่พูด ผู้พูดบางคนสามารถพูดให้คนฟังหัวเราะได้ตลอดเวลา ศิลปะเฉพาะตัวนี้ เป็นสิ่งที่ลอกเลียนกันได้ยาก แต่อาจพัฒนาขึ้นได้ในแต่ละบุคคล ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตวิธีการที่ดีและมีโอกาสฝึกฝน
ประเภทของการพูด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
ประเภทของการพูด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
๑. การพูดระหว่างบุคคล ได้แก่
๑.๑ การทักทายปราศัย ลักษณะการทักทายปราศัยที่ดีดังนี้
- หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย
- กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม เช่น สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ
- แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร
- ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ
๑.๒ การแนะนำตนเอง การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ ต้องบอกชื่อ นามสกุล บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว
๑.๓ การสนทนา หมายถึง การพูดคุยกัน พูดจาเพื่อนสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ การรับสารที่ง่ายที่สุด คือ การสนทนา
- คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี คือ
- หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
- ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย ๆ สุภาพ คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา
๒. การพูดในกลุ่ม
การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม แสดงความคิดเห็น หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน มีวิธีการดังต่อไปนี้
- เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ ว่ามีอะไรบ้าง
- ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย
- น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ
- ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม
- ผู้เล่าเรื่องควรจำเรื่องได้เป็นอย่างดี
มารยาทในการพูด
๑.๑ การทักทายปราศัย ลักษณะการทักทายปราศัยที่ดีดังนี้
- หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทาย
- กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม เช่น สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ
- แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร
- ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ
๑.๒ การแนะนำตนเอง การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ ต้องบอกชื่อ นามสกุล บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว
- คุณสมบัติของการสนทนาที่ดี คือ
- หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
- ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ง่าย ๆ สุภาพ คำพูดและน้ำเสียงน่าฟัง เป็นกันเองกับคู่สนทนา
๒. การพูดในกลุ่ม
การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม แสดงความคิดเห็น หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน มีวิธีการดังต่อไปนี้
- เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ ว่ามีอะไรบ้าง
- ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย
- น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ
- ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม
- ผู้เล่าเรื่องควรจำเรื่องได้เป็นอย่างดี
๑.พูดจาไพเราะ
๒.ไม่แย่งกันพูด
๓.พูดด้วยคำสุภาพไม่ยาบคาย
๔.พูดด้วยน้ำเสียงที่นุมนวน
๕.ไม่พูดแทรกจังหวะผู้อื่น
๖.พูดด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
๗.ใช้ความดังของเสียงให้พอเหมาะ ไม่เสียงเบาหรือดังเกินไป
๘.ไม่พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น
๙.เปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
จะเป็นผู้ดูที่ดีได้อย่างไร
เราคือผู้ดู ไม่ใช่ผู้กำกับ จะไปเจ้ากี้เจ้า การให้เป็นอย่างโน้น เป็นอย่างนี้ จะไปเจ้ากี้เจ้าการให้ชัด ให้ใส ให้ สว่าง ให้อยู่กับเรานาน ๆ ให้ใหญ่ โต ให้เข้ากลางคล่อง ให้เร็ว ให้แรง ไม่ ได้
หน้าที่ของเราคือผู้ดู มีอะไรให้ดูก็ดูไป ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ ที่ศูนย์ กลางกาย โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น นี้คือสูตรสำเร็จ “เราคือผู้ดู” สอนตัว เองอยู่ตลอดเวลา จะได้ไม่ลืม “เราคือผู้ดู เราไม่ใช่ผู้กำกับ” เพราะ ฉะนั้น เราจะไม่เจ้ากี้เจ้าการ ให้เป็นอย่างโน้น เป็นอย่างนี้ ใจเย็น ๆ เห็นอะไรให้ดูไป สบาย ๆ อย่ากลัวเสียเวลา ไม่กลัวอะไรเลย ทำหยุด ทำ นิ่ง ทำเฉยๆ อย่างสบาย ๆ ที่ศูนย์กลางกาย แค่นี้ เท่านั้น
หน้าที่ของเราคือผู้ดู มีอะไรให้ดูก็ดูไป ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ ที่ศูนย์ กลางกาย โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น นี้คือสูตรสำเร็จ “เราคือผู้ดู” สอนตัว เองอยู่ตลอดเวลา จะได้ไม่ลืม “เราคือผู้ดู เราไม่ใช่ผู้กำกับ” เพราะ ฉะนั้น เราจะไม่เจ้ากี้เจ้าการ ให้เป็นอย่างโน้น เป็นอย่างนี้ ใจเย็น ๆ เห็นอะไรให้ดูไป สบาย ๆ อย่ากลัวเสียเวลา ไม่กลัวอะไรเลย ทำหยุด ทำ นิ่ง ทำเฉยๆ อย่างสบาย ๆ ที่ศูนย์กลางกาย แค่นี้ เท่านั้น
การดูที่ถูกวิธีเป็นอย่างไร
๑. อย่าไปเน้นให้ชัด “ดูเฉย ๆ ดูอย่างเดียว มีให้ดูแค่ไหนก็ดูแค่นั้น” มีให้ดูแค่ลัว ๆ ลาง ๆ ไม่ชัดเจน ก็ดูแค่นั้น อย่า รำคาญว่า แหมทำไมไม่ชัดเจน เราอยากจะดูให้มันชัด ๆ “มีแค่ไหน เราก็ดูแค่ นั้น ดูเฉย ๆ เดี๋ยวจะชัดขึ้นเอง
๒. ดูไปเรื่อย ๆ ไม่เผลอ มีอะไรเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกาย เราก็ดูเรื่อยไป มี ความมืดให้ดู เราก็ดูความมืด มีวัตถุก้อนทึบ ๆ ให้ดู จะทรงกลมหรือทรงอะไรก็ แล้วแต่ เราก็ดูเรื่อยไป มีแสงสว่าง เกิดขึ้นมา ก็ดูไปเรื่อย ๆ ใจจะโล่ง จะ เป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง เราก็มองตรงกลางเรื่อยไป มองเฉย ๆ มีหลุมลึก เป็นบ่อบ้าง เป็นหุบเหวบ้าง มีอาการคล้ายๆ จะหล่นลงไป ก็อย่าไปฝืน ปล่อยให้ มันเป็นไปตามธรรมชาติ มันจะวูบก็ช่างมัน มันไม่ลงก็ช่างมัน ลงไปช้า ๆ ก็ช่าง มัน ไม่ลุ้น ไม่ดัน เฉย ๆ อย่างเดียว ลงไปแค่ไหน ก็ช่างมัน ลงแล้วถอนขึ้นมา ก็ช่างมัน มีดาวให้ดูเราก็ดูดาวไป ดวงใสแค่ไหน เราก็ดูไปเรื่อย ๆ ดูตรง กลาง ภาพอะไรเกิดขึ้นมา ดูไปเรื่อย ๆ ภาพนั้นจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เปลี่ยนไปสู่ความไม่เปลี่ยน
๓. ดูอย่างสบายทุกภาพ ดูมืด ดูจุดสว่าง ช่างมันอย่างเดียว ง่ายๆ ดูไป เรื่อย ๆ ดูธรรมดา สบาย ๆ เป็นหัวใจ ให้ได้ตั้งแต่เบื้องต้น เบื้องปลาย ดู ธรรมดา เฉยๆ มีอะไรให้ดูก็ดูไป บางครั้งภาพองค์พระเปลี่ยนไปเป็นดวงแก้ว ก็ ยิ่งดีใหญ่ เราก็ดูไปเรื่อยๆ อย่างสบาย ๆ จะเห็นอะไรก็ตามเกิดขึ้นที่ศูนย์ กลางกาย มองไปเรื่อย ๆ มองไปเฉย ๆ ด้วยใจที่เบิกบาน สบายๆ
๔. ดูเข้าไปตรงกลาง อย่าชำเลืองดูข้างนอก การดูให้ดูตรงกลางต่อไป อย่า ชำเลืองดูข้างนอก ยกเว้นเห็นเอง สมมติว่า ขณะนั่ง เราเกิดเห็นไปเองว่า ห้อง นี้เหมือนกับเป็นองค์พระ ตัวของเรานั่งอยู่ข้างใน อย่างนี้ไม่เป็นไร แต่ ถ้าเราเข้าไปอยู่ข้างในแล้วมีความรู้สึกอยากจะดู จึงชำเลือง ๆ อย่าง นี้ ไม่ได้นะ เพราะถ้าเราชำเลืองดูจิตจะไม่รวม เข้าข้างใน
๕. ไม่ตื่นเต้นหรือยินดียินร้าย ถ้าเราประคองใจให้หยุดนิ่ง อย่างนี้ไป เรื่อย ๆ ไม่ช้าความสว่างก็จะเกิดขึ้นเอง หรือ ดวงนิมิตก็จะเกิดขึ้น เอง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว วิธีประคอง คือ ทำใจเฉย อย่าไปตื่นเต้น อย่าใจดี จนเกินไป
ถ้าเราอดไม่ได้ จึงตื่นเต้นดีใจ หรือตกใจ นิมิตนั้นจะหายไป เราก็รักษาหยุดกับนิ่งไว้นานๆ ต่อไปใหม่ หยุด นิ่ง เฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ตื่นเต้นอะไร ทั้งสิ้น มีอะไรให้ดูตรงกลาง เราก็ดูไปเรื่อย ๆ เช่น มีความมืดให้ดู เราก็ดู ความมืดไป อย่าไปกลุ้มใจ อย่าไปวิตกกังวล ดูไปเดี๋ยวมันจะสว่างไปเอง จาก มืด ๆ นั่นแหละ สว่างไปเอง ถ้าเราไม่กังวล เมื่อมีแสงสว่างให้ดู เราก็ดูแสง สว่างเรื่อยไป ต่อไปแสงสว่างมันก็จะเปลี่ยนไป เป็นจุดสว่างบ้าง เป็นดวง ใส ๆ บ้าง เป็นดวงใหญ่บ้าง ดวงเล็กบ้าง เราก็ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ เดี๋ยว เห็น เดี๋ยวหาย ก็ช่างมัน หายไป เหลือแต่ความมืด เราก็ดูความมืด กลับ มา เป็นดวงใส เราก็ดูดวงใส ถ้าเป็นดวงให้ดู ก็ดูไปที่จุดกึ่งกลางของดวง ถ้า เป็นจุดสว่าง ก็ให้ดูไปที่กึ่งกลางของจุดสว่างนั้น ถ้าหาจุดกึ่งกลางของจุด สว่างไม่ได้ ก็ให้ดูไปที่จุดสว่างอย่างเดียว ดูเฉย ๆ ดูอย่างสบาย ๆ
๕. ไม่ตื่นเต้นหรือยินดียินร้าย ถ้าเราประคองใจให้หยุดนิ่ง อย่างนี้ไป เรื่อย ๆ ไม่ช้าความสว่างก็จะเกิดขึ้นเอง หรือ ดวงนิมิตก็จะเกิดขึ้น เอง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว วิธีประคอง คือ ทำใจเฉย อย่าไปตื่นเต้น อย่าใจดี จนเกินไป
ถ้าเราอดไม่ได้ จึงตื่นเต้นดีใจ หรือตกใจ นิมิตนั้นจะหายไป เราก็รักษาหยุดกับนิ่งไว้นานๆ ต่อไปใหม่ หยุด นิ่ง เฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ตื่นเต้นอะไร ทั้งสิ้น มีอะไรให้ดูตรงกลาง เราก็ดูไปเรื่อย ๆ เช่น มีความมืดให้ดู เราก็ดู ความมืดไป อย่าไปกลุ้มใจ อย่าไปวิตกกังวล ดูไปเดี๋ยวมันจะสว่างไปเอง จาก มืด ๆ นั่นแหละ สว่างไปเอง ถ้าเราไม่กังวล เมื่อมีแสงสว่างให้ดู เราก็ดูแสง สว่างเรื่อยไป ต่อไปแสงสว่างมันก็จะเปลี่ยนไป เป็นจุดสว่างบ้าง เป็นดวง ใส ๆ บ้าง เป็นดวงใหญ่บ้าง ดวงเล็กบ้าง เราก็ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ เดี๋ยว เห็น เดี๋ยวหาย ก็ช่างมัน หายไป เหลือแต่ความมืด เราก็ดูความมืด กลับ มา เป็นดวงใส เราก็ดูดวงใส ถ้าเป็นดวงให้ดู ก็ดูไปที่จุดกึ่งกลางของดวง ถ้า เป็นจุดสว่าง ก็ให้ดูไปที่กึ่งกลางของจุดสว่างนั้น ถ้าหาจุดกึ่งกลางของจุด สว่างไม่ได้ ก็ให้ดูไปที่จุดสว่างอย่างเดียว ดูเฉย ๆ ดูอย่างสบาย ๆ
๖. ไม่เอ๊ะอ๊ะ ไม่ผิดหวัง มีอะไรให้ดู ก็ดูไป เหมือนเราเดินเล่น ผ่านอะไร ระหว่างทาง มีอะไรให้ดูก็ดูไป เฉย ๆ ไม่ต้องคิดอะไร เห็นอะไรก็ไม่ต้อง คิด เอ๊ะ อ๊ะแต่ถ้าสงสัย พอหยุดดูจะไม่นิ่ง ถ้าเราทำใจว่า ทันทีที่หลับ ตา จะเห็นความมืดเป็นภาพแรก คำว่าผิดหวังก็จะไม่เกิด เพราะเราไม่ได้หวังผิด
อย่าไปเสียดายดวงแก้ว อย่าไปมัวไล่จับ เพราะกลัวจะไม่อยู่ เราดูเฉย ๆ หายไป ก็ช่าง ดวงแก้วมีเป็นล้าน ๆ ดวงในตัวของเรา หายไปแค่ดวงเดียว เหลืออีกตั้ง เยอะ ดูไปสบาย ๆ หายไปก็ช่าง นิ่งอย่างเดียว เฉย ๆ อย่างเดียว ทำอย่างนี้จะ ได้ดี ไม่ปฏิเสธภาพ ไม่ปรุงแต่ง เมื่อค่อย ๆ ดูไป ใจก็เริ่มคุ้นกับภาพภายใน ซึ่ง ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง ก็ให้ดูไปเรื่อย ๆ จากชัดน้อยจนชัดมาก ดูไปจนชัดมาก ๆ ถ้า เป็นแสงสว่าง ก็จากแสงน้อยไปจนแสงมาก เมื่อเราเฉย ๆ ไม่ปฏิเสธภาพที่เกิด ขึ้น และไม่ปรุงแต่ง ใจก็จะเริ่มหยุด นิ่ง เฉย
๗. มองเรื่อย ๆ เดี๋ยวเข้าไปตรงกลางเอง มองที่จุดกึ่งกลางของสิ่งที่เห็น ถ้า เห็นองค์พระเห็นแต่เศียรพระ เราก็มองเศียรไป มองไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็จะเข้าไป อยู่ในกลางขององค์พระได้เอง อย่างสบาย ๆ ถ้าตึงหรือเครียด ต้องผ่อนคลาย ถ้า ฟุ้ง หรือเคลิ้ม พอรู้ตัว เราก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ ภาวนาใหม่ ทิ้งอารมณ์ นั้นไป เริ่มใหม่อย่างง่าย ๆ นิมิตเกิดขึ้นมาแล้วหายไป ก็อย่าเสียดาย ทำ นิ่งเฉย ๆ จะเห็นแสงสว่าง จะเป็นดวงแก้ว จะเป็นองค์พระ จะเป็นกายอะไรก็แล้ว แต่ เห็นมาประเดี๋ยวเดียวหายไป ก็อย่าเสียดาย อย่ามัวควานหา อย่าตามหา ให้ นิ่งเฉย “ หายได้ หายไป เรานิ่งเฉยอยู่ที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว “ ทำใจให้ นิ่งแน่น ให้หนักแน่นอยู่ในกลาง ไม่ช้าใจจะค่อย ๆ ละเอียดไปเรื่อย ๆ จน กระทั่งหยุดนิ่งเข้าถึงธรรมกาย
มารยาทการฟังและดูให้มีประสิทธิภาพ
มารยาทในการฟังและการดูถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรยึดถือปฏิบัติ เพราะหากขาดมารยาทที่ดีจะทำให้ขาดผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการรับสาร นอกจากนี้ยังเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ส่งสารและทำให้เสียเวลาในการฟังและการ ดูไปอย่างเปล่าประโยชน์
๑. การฟังหรือดูเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรสำรวมกิริยาอาการ สบตาผู้พูดเป็นระยะ ๆ ให้พอเหมาะ ไม่ชิงพูดก่อนที่จะพูดจบความ เมื่อไม่เข้าใจให้ถามเมื่อผู้ใหญ่พูดจบกระแสความ
๒. การฟังหรือดูในห้องประชุม ตั้งใจฟัง จดบันทึกสาระสำคัญ ไม่กระซิบพูดกัน ไม่ทำกิจส่วนตัว ถ้าจะพูดให้ยกมือขออนุญาตจากประธานในที่ประชุมก่อน
๓. การฟังหรือดูการพูดในที่ประชุม การฟังหรือดูการพูดอภิปราย บรรยาย ปราฐกถา ต้องฟังด้วยความสำรวม แสดงความสนใจ ถ้าจะซักถามหรือแสดงความคิดเห็น ควรรอให้การพูดนั้นสิ้นสุดลงก่อน
๔. การฟังหรือดูในที่สาธารณะ ต้องรักษาความสงบและเพื่อไม่ให้รบกวนสมาธิของผู้พูด ไม่ควรเดินเข้าออกพลุกพล่าน ไม่พูดคุยเสียงดัง ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงความไม่รู้กาลเทศะและไม่ให้เกียรติผู้พูด
การรับสารโดยใช้ทักษะการฟัง การดูเพื่อให้สัมฤทธิผลนั้น ผู้รับสารต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ในการฟัง การดู เพื่อให้การรับสารมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการพิจารณาสาร แยกแยะข้อเท็จจริงและสรุปใจความสำคัญ วิเคราะห์ ใคร่ครวญ วินิจสารและประเมินค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝนเป็นประจำ จึงจะช่วยให้ผู้รับสารสามารถนำสารที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ประจำวันได้อย่างสัมฤทธิผล
๑. การฟังหรือดูเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรสำรวมกิริยาอาการ สบตาผู้พูดเป็นระยะ ๆ ให้พอเหมาะ ไม่ชิงพูดก่อนที่จะพูดจบความ เมื่อไม่เข้าใจให้ถามเมื่อผู้ใหญ่พูดจบกระแสความ
๒. การฟังหรือดูในห้องประชุม ตั้งใจฟัง จดบันทึกสาระสำคัญ ไม่กระซิบพูดกัน ไม่ทำกิจส่วนตัว ถ้าจะพูดให้ยกมือขออนุญาตจากประธานในที่ประชุมก่อน
๓. การฟังหรือดูการพูดในที่ประชุม การฟังหรือดูการพูดอภิปราย บรรยาย ปราฐกถา ต้องฟังด้วยความสำรวม แสดงความสนใจ ถ้าจะซักถามหรือแสดงความคิดเห็น ควรรอให้การพูดนั้นสิ้นสุดลงก่อน
๔. การฟังหรือดูในที่สาธารณะ ต้องรักษาความสงบและเพื่อไม่ให้รบกวนสมาธิของผู้พูด ไม่ควรเดินเข้าออกพลุกพล่าน ไม่พูดคุยเสียงดัง ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงความไม่รู้กาลเทศะและไม่ให้เกียรติผู้พูด
การรับสารโดยใช้ทักษะการฟัง การดูเพื่อให้สัมฤทธิผลนั้น ผู้รับสารต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ในการฟัง การดู เพื่อให้การรับสารมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการพิจารณาสาร แยกแยะข้อเท็จจริงและสรุปใจความสำคัญ วิเคราะห์ ใคร่ครวญ วินิจสารและประเมินค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝนเป็นประจำ จึงจะช่วยให้ผู้รับสารสามารถนำสารที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ประจำวันได้อย่างสัมฤทธิผล
หลักการฟัง
การฟัง คือ การรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน เป็นการรับรู้สารทางหู ในชีวิตประจำวันของเรา เราใช้เวลานการฟัง ทั้งที่ฟังจากบุคคลโดยตรง และฟังจากจากสื่ออิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ เพราะข่าวสาร ความรู้และศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ที่มนุษย์ถ่ายทอดกันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ยังใช้วิธีการพูดอธิบายให้ฟังแม้จะมีหนังสือบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม
หลักการฟังที่ดี การฟังที่ดีมีหลักสำคัญ คือ
๑. ฟังให้ตรงตามความมุ่งหมาย โดยทั่วไปแล้หลักการฟังมีความมุ่งหมายหลัก 3 ประการ
๑.๑ ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ การฟังเรื่องราวที่สนุกสนาน
๑.๒ ฟังเพื่อความรู้ ได้แก่ การฟังเรื่องราวทางวิชาการ ข่าวสารและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
๑.๓ ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ ได้แก่ การฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญา ความสุขุมและวิจารณญาณ เพื่อเชิดชูจิตใจให้สูงขึ้น ประณีตขึ้น
๒. ฟังโดยมีความพร้อม ความพร้อมในที่นี้ หมายถึง ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ และ ความพร้อมทางสติปัญญา
ความพร้อมทางร่างกาย หมายถึง การมีสุขภาพทางร่างกายเป็นปกติ ไม่เหนื่อย ไม่อิดโรย
ความพร้อมทางจิตใจ หมายถึง การมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ
๓.ฟังโดยมีสมาธิ หมายถึง ฟังด้วยความตั้งใจมั่น จดจ่ออยู้กับเรื่องที่ฟัง ไม่ปล่อยจิตใจให้เลื่อนลอยไปที่อื่น
๔. ฟังด้วยความกระตือรือร้น ผู้ที่ฟังด้วยความกระตือรือร้นมักจะเป็นผู้ฟังที่มองเห็นประโยชน์หรือเห็นคุณค่าจึงสนใจเรื่องที่ตนจะฟัง
๕. ฟังโดยไม่อคติ ผู้ฟังโดยไม่อคติต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน ไม่เป็นโทษแก่ผู้อื่น
หลักการฟังที่ดี การฟังที่ดีมีหลักสำคัญ คือ
๑. ฟังให้ตรงตามความมุ่งหมาย โดยทั่วไปแล้หลักการฟังมีความมุ่งหมายหลัก 3 ประการ
๑.๑ ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ การฟังเรื่องราวที่สนุกสนาน
๑.๒ ฟังเพื่อความรู้ ได้แก่ การฟังเรื่องราวทางวิชาการ ข่าวสารและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
๑.๓ ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ ได้แก่ การฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญา ความสุขุมและวิจารณญาณ เพื่อเชิดชูจิตใจให้สูงขึ้น ประณีตขึ้น
๒. ฟังโดยมีความพร้อม ความพร้อมในที่นี้ หมายถึง ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ และ ความพร้อมทางสติปัญญา
ความพร้อมทางร่างกาย หมายถึง การมีสุขภาพทางร่างกายเป็นปกติ ไม่เหนื่อย ไม่อิดโรย
ความพร้อมทางจิตใจ หมายถึง การมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ
๓.ฟังโดยมีสมาธิ หมายถึง ฟังด้วยความตั้งใจมั่น จดจ่ออยู้กับเรื่องที่ฟัง ไม่ปล่อยจิตใจให้เลื่อนลอยไปที่อื่น
๔. ฟังด้วยความกระตือรือร้น ผู้ที่ฟังด้วยความกระตือรือร้นมักจะเป็นผู้ฟังที่มองเห็นประโยชน์หรือเห็นคุณค่าจึงสนใจเรื่องที่ตนจะฟัง
๕. ฟังโดยไม่อคติ ผู้ฟังโดยไม่อคติต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน ไม่เป็นโทษแก่ผู้อื่น
ข้อสังเกตและจดจำในการเขียนภาษาไทย
๑. หลักการประวิสรรชนีย์ในภาษาไทย - คำที่ขึ้นต้นด้วยกระ/กะ ในภาษาไทยให้ประวิสรรชนีย์ เช่น กระเช้า กระเซ้า กระแส กระโปรง กระทรวง กระทะ กระพริบ กะปิ เป็นต้น
๒. คำที่เป็นคำประสมที่คำหน้าก่อนเป็นเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์ - เช่น ตาวัน เป็น ตะวัน, ฉันนั้น เป็น ฉะนั้น, ฉันนี้ เป็นฉะนี้, หมากม่วง เป็น มะม่วง, สาวใภ้ เป็น สะใภ้, วับวับ เป็น วะวับ, เรื่อยเรื่อย เป็น ระเรื่อย เป็นต้น
๓. คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ตัวท้ายที่ออกเสียง อะ ต้องประวิสรรชนีย์ - เช่น ศิลปะ มรณะ สาธารณะ วาระ เป็นต้น
๔. คำที่พยัญชนะต้น ออกเสียงอะ แต่ไม่ใช่อักษรนำ ต้องประวิสรรชณีย์ - เช่น ขะมุกขะมอม ขะมักเขม้น ทะเล่อทะล่า เป็นต้น
๒. คำที่เป็นคำประสมที่คำหน้าก่อนเป็นเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์ - เช่น ตาวัน เป็น ตะวัน, ฉันนั้น เป็น ฉะนั้น, ฉันนี้ เป็นฉะนี้, หมากม่วง เป็น มะม่วง, สาวใภ้ เป็น สะใภ้, วับวับ เป็น วะวับ, เรื่อยเรื่อย เป็น ระเรื่อย เป็นต้น
๓. คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ตัวท้ายที่ออกเสียง อะ ต้องประวิสรรชนีย์ - เช่น ศิลปะ มรณะ สาธารณะ วาระ เป็นต้น
๔. คำที่พยัญชนะต้น ออกเสียงอะ แต่ไม่ใช่อักษรนำ ต้องประวิสรรชณีย์ - เช่น ขะมุกขะมอม ขะมักเขม้น ทะเล่อทะล่า เป็นต้น
หลักการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในอินเตอร์เน็ต
๑. ใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย กล่าวคือ ก่อนนำคำไปเรียงเข้าประโยค ควรทราบความหมายของคำคำนั้นก่อน เช่น คำว่า “ปอก” กับ “ปลอก” สองคำนี้มีความหมายไม่เหมือนกัน คำว่า “ปอก” เป็นคำกริยา แปลว่า เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก แต่คำว่า “ปลอก” เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งที่ทำสำหรับสวมหรือรัดของต่างๆ เป็นต้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ “วันนี้ได้พบกับท่านอธิการบดี ผมขอฉวยโอกาสอันงดงามนี้เลี้ยงต้อนรับท่านนะครับ” (ที่จริงแล้วควรใช้ ถือโอกาส เพราะฉวยโอกาสใช้ในความหมายที่ไม่ดี
๒. ใช้คำให้เหมาะสม เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและเหมาะสมกับบุคคล เช่นโอกาสที่เป็นทางการ โอกาสที่เป็นกันเอง หรือโอกาสที่เป็นภาษาเขียน เช่น “ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะคิดยังไง” (คำว่า “ยังไง” เป็นภาษาพูด ถ้าเป็นภาษาเขียนควรใช้ “อย่างไร” “เมื่อสมชายเห็นรูปก็โกรธ กระฟัดกระเฟียด มาก (ควรใช้ โกรธปึงปัง เพราะกระฟัดกระเฟียดใช้กับผู้หญิง)
๓. การใช้คำลักษณนาม ใช้คำที่บอกลักษณะของนามต่างๆ ให้ถูกต้อง เช่น ปากกา มีลักษณนามเป็น ด้าม เลื่อย มีลักษณะนามเป็น ปื้น ฤๅษี มีลักษณะนามเป็น ตน เป็นต้น
๔. การเรียงลำดับคำ เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาษาไทย หากเรียงผิดที่ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ทั้งนี้ เพราะคำบางคำอาจมีความหมายได้หลายความหมายซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จัดเรียงไว้ในประโยค เช่น แม่เกลียดคนใช้ฉัน ฉันเกลียดคนใช้แม่ คนใช้เกลียดแม่ฉัน แม่คนใช้เกลียดฉัน ฉันเกลียดแม่คนใช้ แม่ฉันเกลียดคนใช้
ข้อบกพร่องในการเรียงลำดับคำมักปรากฏดังนี้ - เรียงลำดับคำผิดตำแหน่ง เช่น เขาไม่ทราบสิ่งที่ดีงามนั้น ว่า คืออะไร (ควรเรียงว่า เขาไม่ทราบ ว่า สิ่งที่ดีงามนั้นคืออะไร) - เรียงลำดับคำขยายผิดที่ เช่น ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย เป็นอย่างสูง (ควรเรียงว่า ขอขอบคุณ เป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ด้วย) - เรียงลำดับคำไม่เหมาะสม เช่น จงไปเลือกตั้งลงคะแนนเสียง นายกสโมสรนักศึกษา (ควรเรียงว่า จงไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกสโมสรนักศึกษา)
๕. แต่งประโยคให้จบกระแสความ หมายถึงแต่งประโยคให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งส่วนที่เป็นภาคประธานและภาคแสดง ซึ่งประโยคที่จบกระแสความนั้นจะต้องตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ได้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ประโยคไม่จบกระแสความอาจเกิดจากขาดคำบางคำหรือขาดส่วนประกอบของประโยคบางส่วนไป เช่น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้ว(ควรแก้เป็น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้วก็ยังชอบอยู่เหมือนเดิม)
๖. ใช้ภาษาให้ชัดเจน ใช้ภาษาที่ให้ความหมายเพียงความหมายเดียว เป็นความหมายที่ไม่สามารถจะแปลความเป็นอย่างอื่นได้ เช่น “คุณแม่ไม่ชอบคนใช้ฉัน” อาจแปลได้ 2 ความหมายคือ คุณแม่ไม่ชอบใครก็ตามที่ใช้ให้ฉันทำโน่นทำนี่ หรือคุณแม่ไม่ชอบคนรับใช้ของฉัน ทั้งนี้เพราะคำว่า “คนใช้” เป็นคำที่มีหลายความหมายนั่นเอง
๔. การเรียงลำดับคำ เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาษาไทย หากเรียงผิดที่ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ทั้งนี้ เพราะคำบางคำอาจมีความหมายได้หลายความหมายซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จัดเรียงไว้ในประโยค เช่น แม่เกลียดคนใช้ฉัน ฉันเกลียดคนใช้แม่ คนใช้เกลียดแม่ฉัน แม่คนใช้เกลียดฉัน ฉันเกลียดแม่คนใช้ แม่ฉันเกลียดคนใช้
ข้อบกพร่องในการเรียงลำดับคำมักปรากฏดังนี้ - เรียงลำดับคำผิดตำแหน่ง เช่น เขาไม่ทราบสิ่งที่ดีงามนั้น ว่า คืออะไร (ควรเรียงว่า เขาไม่ทราบ ว่า สิ่งที่ดีงามนั้นคืออะไร) - เรียงลำดับคำขยายผิดที่ เช่น ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย เป็นอย่างสูง (ควรเรียงว่า ขอขอบคุณ เป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ด้วย) - เรียงลำดับคำไม่เหมาะสม เช่น จงไปเลือกตั้งลงคะแนนเสียง นายกสโมสรนักศึกษา (ควรเรียงว่า จงไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกสโมสรนักศึกษา)
๕. แต่งประโยคให้จบกระแสความ หมายถึงแต่งประโยคให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งส่วนที่เป็นภาคประธานและภาคแสดง ซึ่งประโยคที่จบกระแสความนั้นจะต้องตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ได้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ประโยคไม่จบกระแสความอาจเกิดจากขาดคำบางคำหรือขาดส่วนประกอบของประโยคบางส่วนไป เช่น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้ว(ควรแก้เป็น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้วก็ยังชอบอยู่เหมือนเดิม)
๖. ใช้ภาษาให้ชัดเจน ใช้ภาษาที่ให้ความหมายเพียงความหมายเดียว เป็นความหมายที่ไม่สามารถจะแปลความเป็นอย่างอื่นได้ เช่น “คุณแม่ไม่ชอบคนใช้ฉัน” อาจแปลได้ 2 ความหมายคือ คุณแม่ไม่ชอบใครก็ตามที่ใช้ให้ฉันทำโน่นทำนี่ หรือคุณแม่ไม่ชอบคนรับใช้ของฉัน ทั้งนี้เพราะคำว่า “คนใช้” เป็นคำที่มีหลายความหมายนั่นเอง
- ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย หมายถึง การใช้คำที่ไม่จำเป็น หรือใช้คำที่มีความหมายซ้ำซ้อน เช่น “วันนี้อาจารย์ไม่มาทำการสอน” คำว่า “ทำการ” เป็นคำที่ไม่จำเป็น เพราะแม้จะคงไว้ก็ไม่ได้ช่วยให้ความหมายชัดเจนขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าตัดทิ้ง ความหมายก็ไม่ได้เสียไป ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น “วันนี้อาจารย์ไม่มาสอน”
- ใช้คำให้คงที่ หมายถึง ในประโยคเดียวกัน หรือในเนื้อความเดียวกัน ควรใช้คำเดียวกันให้ตลอด ดังประโยคต่อไปนี้ “หมอถือว่าคนป่วยทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน” (ควรแก้เป็น : หมอถือว่าคนไข้ทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน”
- ไม่ใช้สำนวนต่างประเทศ เช่น “มันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องจากไป” (ควรแก้เป็น “เขาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจากไป)
หลักการใช้ภาษา
หลักการใช้ภาษาไทย ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน
พ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดแปลงมาจาก บาลี และ สันสกฤต
คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง และมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาแต่โบราณกาลและยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปี และจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย
หากแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างมาก ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ถูกต้อง อีกทั้งวัยรุ่นกลับมองว่าการใช้ภาษาที่ผิดกลายเป็นเรื่องของแฟชั่นที่ใคร ๆ ก็ทำกันทำให้เกิดภาษาใหม่ที่เป็นที่แพร่หลายบนโลกอินเตอร์เน็ตหรือเรียกว่าภาษาแชท(Chat) ขึ้น และถ้าหากคนในสังคมไทยยังคงใช้ภาษาไทย เขียนภาษาไทยแบบผิดๆ และไม่คิดใส่ใจที่จะใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ต่อไปอาจทำให้เกิดความเคยชินจนติดนำมาใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน จนทำให้ภาษาไทยที่เป็นรากเหง้าของคนไทย ความภาคภูมิใจในภาษาที่บรรพบุรุษคิดค้นขึ้นมา ภาษาที่มีความสวยงาม ก็คงต้องเลือนหายไป และถูกแทนที่ด้วยภาษาแปลกๆที่ผุดขึ้นมาบนโลกอินเตอร์เน็ตอย่างเช่นในปัจจุบัน
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำเว็บไซต์ ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องในการสื่อสาร เพื่อย้ำเตือนและให้ความรู้ในการใช้ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติและเป็นความภาคภูมิใจให้คงอยู่ในสังคมไทยสืบไป
พ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดแปลงมาจาก บาลี และ สันสกฤต
คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง และมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาแต่โบราณกาลและยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปี และจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย
หากแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างมาก ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ถูกต้อง อีกทั้งวัยรุ่นกลับมองว่าการใช้ภาษาที่ผิดกลายเป็นเรื่องของแฟชั่นที่ใคร ๆ ก็ทำกันทำให้เกิดภาษาใหม่ที่เป็นที่แพร่หลายบนโลกอินเตอร์เน็ตหรือเรียกว่าภาษาแชท(Chat) ขึ้น และถ้าหากคนในสังคมไทยยังคงใช้ภาษาไทย เขียนภาษาไทยแบบผิดๆ และไม่คิดใส่ใจที่จะใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ต่อไปอาจทำให้เกิดความเคยชินจนติดนำมาใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน จนทำให้ภาษาไทยที่เป็นรากเหง้าของคนไทย ความภาคภูมิใจในภาษาที่บรรพบุรุษคิดค้นขึ้นมา ภาษาที่มีความสวยงาม ก็คงต้องเลือนหายไป และถูกแทนที่ด้วยภาษาแปลกๆที่ผุดขึ้นมาบนโลกอินเตอร์เน็ตอย่างเช่นในปัจจุบัน
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำเว็บไซต์ ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องในการสื่อสาร เพื่อย้ำเตือนและให้ความรู้ในการใช้ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติและเป็นความภาคภูมิใจให้คงอยู่ในสังคมไทยสืบไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)